blog นี้ใช้สำหรับเพื่อการศึกษาเท่านั้น

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ส่วนประกอบที่สำคัญของบ้านต้นไม้




1. บันใด ทั่วไปจะเป็นบันไดที่ชันแบบบันใดลิง แต่มันไม่ค่อยสะดวกนัก ถ้าจะให้สะดวกก็จะเป็นขั้นแบบธรรมดา แต่จะออกแบบยุ่งยากขึ้นอีกมาก เพราะต้องมีชานพักเป็นช่วงๆถ้าบ้านอยู่สูงก็จะมีหลายชานพัก บางช่วงอาจทำใหญ่ให้เป็นนั่งห้างก็ได้






2. สะพานเชื่อม ระหว่างบ้านแต่ละหน่วยที่อยู่ห่างกัน ถ้าระดับไม่สูงมากแบบบ้านประเภทที่ 3 ก็จะทำสะพานแบบมีเสาปักบนพื้นได้เลย แต่ถ้าบ้านอยู่สูง ต้องทำสะพานแบบสะพานแขวน ใช้เชือกหรือลวดสลิง

3. ระเบียง ส่วนนี้ควรจะใหญ่หน่อย เพราะจะน่านั่ง เป็นห้องนั่งเล่นกลางแจ้ง (แต่อยู่ใต้ร่มไม้) ส่วนที่เป็นห้องเอาไว้เป็นห้องนอนก็พอ

เทคนิควิธีการก่อสร้างบ้านต้นไม้


1. การคัดเลือกต้นไม้ที่จะสร้างบ้าน ต้องหาต้นไม้ที่ใหญ่ แข็งแรง กิ่งไม่เปราะ อย่างจามจุรีนั้นใช้ไม่ได้ เดี๋ยวจะร่วงลงมาซะ ส่วนลำต้นจะตรงๆเลย หรือมีกิ่งก้านสาขาก็ได้ แต่รูปแบบก็จะต้องทำตามลักษณะของลำต้นที่เราใช้

2. กำหนดระดับตัวบ้านที่ต้องการจะสูงแค่ไหน ถ้ามีกิ่งใหญ่ที่งอกไปในทางนอนได้ก็ดี จะช่วยเรื่องความแข็งแรงของบ้านได้มาก ดีกว่าโครงสร้างที่เราไปทำเสริม เพราะต้องไปเจาะ ไปบากต้นไม้นั้นออก


3. วางตำแหน่งตัวบ้านโดยต้องให้น้ำหนักสมดุลกับลำต้น (สำหรับแบบที่ 1 และ2) เพราะถ้าไม่สมดุลแล้ว ต้นไม้ก็จะค่อยๆปรับสมดุลของมัน คือเอียงไปตามความหนัก หนักทางไหนก็จะค่อยๆเอียงไปทางนั้น แล้วบ้านของคุณก็จะเอียงจนอยู่ไม่ได้

4. การเกาะยึดโครงต่างๆ ต้องเผื่อการเจริญเติบโตของต้นไม้ด้วย เพราะมันยังไม่ตาย มันก็โตไปเรื่อยๆ ทีละนิด ทีละนิด บ้านเราอาจจะบิดเบี้ยวไปตามมันได้ ถ้าไปยึดโยงกับกิ่งก้านที่มันกำลังโต คล้ายกับการเคลื่อนที่อย่างช้าๆ ถ้าเรายึดกับกิ่งใหญ่ที่มันเคลื่อนตัวน้อย การเจริญเติบโตของมันก็จะเป็นลักษณะการงอกออกมาหุ้มห่อโครงสร้างที่เราไปยึดเกาะ แต่ไม่ทำให้โครงสร้างบิดเบี้ยว

5. ออกแบบส่วนหลังคาที่ล้อมต้นไม้ให้ดี เพราะจุดนี้จะเป็นจุดอ่อนที่สุดของตัวบ้าน เพราะจะเป็นจุดที่น้ำจะไหลเข้ามาตามลำต้น ส่วนที่ล้อมต้นไม้ต้องไม่สนิทจนเกินไป เพราะต้องเผื่อการโตของลำต้น ส่วนลำที่โผล่พ้นหลังคาก็ต้องใส่ครอบกันน้ำให้ดี

บ้านต้นไม้แบบผสม






บ้านต้นไม้แบบผสม ใช้ต้นไม้เป็นโครงสร้างรอง ใช้โครงสร้างอื่น เช่นไม้แปรรูป เป็นโครงสร้างหลัก บ้านแบบนี้จะมีขนาดใหญ่ ใช้งานหรืออยู่อาศัยได้ เหมือนบ้านทั่วๆไป มีห้องนอน ห้องนั่งเล่น หรือห้องน้ำก็ทำได้ แต่จะทำได้ไม่สูงเหมือน 2 แบบแรก เพราะโครงสร้างหลักต้องวางบนพื้น คล้ายปลูกบ้านยกพื้น นั่นเอง แล้วไปเกาะกับต้นไม้ใหญ่ๆสักต้น ก็ได้รูปแบบเป็นบ้านต้นไม้แล้ว หรือแม้แต่ต้นไม้ที่ไม่ใหญ่นัก หลายๆต้นก็ทำได้ เพียงแต่ต้องวางตำแหน่งบ้าน ให้ได้จังหวะ ก็จะได้ห้องที่ใช้งานได้พอดี ไม่มีลำต้นไม้ขวางเกะกะอยู่กลางห้อง


บ้านต้นไม้แบบ Hi-Tech





บ้านต้นไม้แบบ Hi-Tech เป็นบ้านต้นไม้ที่อาศัยต้นไม้เป็นโครงสร้างหลักเช่นกัน แต่มีวิธีการก่อสร้าง หรือรูปแบบสมัยใหม่ ใช้เทคโนโลยี่สมัยใหม่คิด และก่อสร้าง จึงมีรูปแบบและรูปทรงที่แปลก แหวกแนวพอสมควร การใช้งานก็ไม่ได้มากเต็มที่ แต่จะมากกว่าแบบแรก เพราะสามารถสร้างเป็นระบบต่อเชื่อมกันได้หลายๆหน่วย จึงสามารถใช้งานได้หลายๆอย่าง

บ้านต้นไม้แบบ original




บ้านต้นไม้แบบ original คือสร้างบนต้นไม้จริงๆ อาศัยต้นไม้นั้นๆ(อาจจะใช้ต้นเดียว หรือหลายต้นก็ได้) เป็นโครงสร้างหลักเลย ใช้ไม้เป็นวัสดุก่อสร้างหลัก บ้านแบบนี้จะสร้างได้ไม่ใหญ่นัก เพราะต้นไม้มีข้อจำกัดเรื่องขนาด จึงได้ห้องหรือบ้านที่ใช้งานได้แบบเล่นๆ คือใช้อยู่อาศัยจริงไม่ได้ แค่ขึ้นไปนั่งชมวิวเปลี่ยนบรรยากาศ หรือหนีปัญหา ความสับสนวุ่นวายไปหลบซ่อนตัวสักพัก คือเป็นแบบโลกส่วนตัวของเด็กๆได้ บ้านแบบนี้เป็นที่ใฝ่ฝันของเด็กทั้งหลายทีเดียว